DNA SERVICES
CANCER4CAST
CancerSCAN Targeted Therapy
เป็นการรักษาโรคมะเร็งแบบออกฤทธิ์จำเพาะเจาะจงต่อเซลล์มะเร็ง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อยับยั้งกระบวนการส่งสัญญาณระดับเซลล์ ซึ่งเป็นต้นเหตุของการเจริญเติบโตและแบ่งตัวของเซลล์มะเร็งอย่างไม่มีที่สิ้นสุด โดยอาจไปจับกับเป้าหมายที่อยู่ภายนอกเซลล์หรือบนผิวเซลล์ หรือผ่านเข้าไปในผนังเซลล์เพื่อจับกับเป้าหมายภายในก็ได้ และเนื่องจากมะเร็งแต่ละชนิดมีเส้นทางที่ใช้ในการเจริญเติบโตของเซลล์ไม่เหมือนกัน ยา targeted therapy แต่ละตัวจึงมีกลไกการออกฤทธิ์แตกต่างกัน เช่น ยาที่เป็นแอนติบอดีเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันทำลายเซลล์มะเร็ง ยาที่ไปยับยั้งกระบวนการส่งสัญญาณเข้าไปกระตุ้นให้เซลล์มะเร็งเจริญเติบโต ยาที่ยับยั้งตัวรับ (receptor) ที่อยู่บนผิวของเซลล์
ในปัจจุบันการรักษาด้วยวิธี targeted therapy ส่วนใหญ่จะใช้ในผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลาม หรืออาจใช้เป็นการรักษาเสริมภายหลังการผ่าตัดโดยร่วมกับเคมีบำบัดหรือร่วมกับการฉายรังสีเพื่อรักษามะเร็งให้หายขาด อย่างไรก็ตาม การรักษาด้วยวิธีนี้ยังมีราคาค่อนข้างสูงและยังไม่สามารถใช้รักษาโรคมะเร็งได้ทุกชนิด รวมถึงไม่สามารถใช้ในการรักษาผู้ป่วยมะเร็งได้ทุกราย เนื่องจากมะเร็งบางชนิดจำเป็นต้องมียีนที่ตอบสนองต่อยา แพทย์จึงต้องทำการตรวจผู้ป่วยก่อนว่ามียีนที่สามารถใช้สำหรับการรักษาด้วย targeted therapy ได้หรือไม่ ยกตัวอย่างเช่น ผู้ป่วยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่จำเป็นจะต้องมียีน KRAS ชนิด wild-type หรือ KRAS ที่ไม่กลายพันธุ์ จึงจะได้รับประโยชน์จากการรักษาด้วยยา EGFR inhibitor เป็นต้น
คือการตรวจหาความเปลี่ยนแปลงของยีนในเซลล์มะเร็ง เป็นการตรวจในผู้ป่วยที่เป็นโรคมะเร็งอยู่แล้วเพื่อเพิ่มโอกาสในการรักษาโรค โดยเฉพาะการรักษาด้วยวิธีการรักษาแบบจำเพาะเจาะจงต่อเซลล์มะเร็ง (Targeted Therapy) ซึ่งผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับการตรวจว่ามียีนหรือการกลายพันธุ์ของยีนที่เป็นตัวรับหรือเป้าหมาย (Target) ที่ตอบสนองต่อยาที่จะใช้ในการรักษาหรือไม่ โดยใช้เทคโนโลยี Next Generation Sequencing (NGS) เทคโนโลยีนี้ทำให้ผลที่ได้จากการตรวจถูกต้อง แม่นยำ และปลอดภัย ในกรณีที่ผู้ป่วยมียีนที่เป็นเป้าหมาย แพทย์จะสามารถเลือกใช้ยาที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในการตรงเข้ายับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งและทำลายเซลล์มะเร็งไม่ให้แพร่กระจายไปยังส่วนอื่นๆ ของร่างกายได้ ซึ่งนอกจากจะเป็นผลดีในการรักษาแล้ว ยังช่วยหลีกเลี่ยงผลข้างเคียงที่อาจเกิดจากการรักษาได้อีกด้วย
CancerSCAN ตรวจวิเคราะห์ Single Nucleotide Variations(SNVs), Short Insertions and Deletions (InDels), Copy Number Variations(CNVs) และ Gene Rearrangements รวมทั้งสิ้น 375 ยีน และเทียบกับตัวอย่างทางคลินิกของผู้ป่วย (FFPE, Formalin Fixed Parafin Embeded)
Type of CancerSCAN
CancerSCAN
LEVEL 1
Analysis of 77 genetic variations
CancerSCAN
LEVEL 2
Analysis of 375 genetic variations
Main Genes and Target Anti-Cancer Drug (Example)
ALK
• Crizotinib, Ceritinib
BRAF
• Dabrafenib, Trametinib, Vemurafenib
EGFR
• Afatinib, Cetuximab, Erlotinib, Panitumumab
KIT
• Imatinib, Pazopanib, Sunitinub
KRAS
• Cetuximab, Panitumumab
CancerSCAN Workflow
Collection of Tumor Tissue (FFPE)
Genetic Analysis by NGS
Detection of Genetic Variations
Report
Targeted Cancer Theraphy
ประโยชน์ของการตรวจ CancerSCAN
-
ตรวจวิเคราะห์ยีนเป้าหมาย 83 ยีน สแกนทันทีการกลายพันธุ์ 83 ยีนหลักที่กำหนดเป้าหมายมะเร็ง
-
ข้อมูลตามความสำคัญของการกลายพันธุ์ที่เกี่ยวข้องผ่านฐานข้อมูลและการวิเคราะห์ฟังก์ชั่น
-
ข้อมูลเกี่ยวกับยารักษามะเร็งเป้าหมาย (ถ้ามี) เมื่อใช้ร่วมกับการรักษาแบบอื่น Targeted Therapy จะช่วยยืดอายุผู้ป่วยในกลุ่มผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย และเพิ่มโอกาสในการหาย ในกลุ่มผู้ป่วยมะเร็งระยะแรก