บริการจากเรา
ANTI-AGING & AESTHETICS
Menopause and Placenta Therapy
วัยทองเป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงจากวัยเจริญพันธุ์เข้าสู่ผู้สูงอายุ ซึ่งอยู่ช่วง 40-59 ปี จะเริ่มจากมีการเสื่อมสมรรถภาพของรังไข่ทำให้มีการสร้างฮอร์โมนเพศ Estrogen ลดลงจนหยุดการสร้างไปในที่สุด ทำให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์ต่างๆ มากมายทั้งในระยะสั้น (Menopause Syndrome) และอาการในระยะยาว คือเสี่ยงต่อ กระดูกบางและพรุน (Osteoporosis) การเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตันมากขึ้น อาการทางสมอง อาการแสบขัดและกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ น้ำหนักขึ้นหรืออ้วน ดังนั้นการดูแลช่วงวัยทองจะช่วยป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นให้มีคุณภาพชีวิตต่อไป
วัยใกล้หมดระดู (Perimenopause)
เป็นเวลาที่รังไข่เริ่มทำงานไม่ปกติจนหยุดทำหน้าที่ไปในที่สุด โดยทั่วไปมีระยะเวลา 2-8 ปี ก่อนเข้าสู่วัยหมดระดู และมักนับรวมไปถึงระยะเวลา 1 ปี หลังจากระดูสุดท้าย เป็นช่วงเวลาที่ผู้หญิงยังไม่หมดระดู หรือ ไม่มีระดูมาระยะเวลาหนึ่ง แต่ไม่ถึง 1 ปี ร่วมกับการที่มีอาการผิดปกติบางอย่างเกิดขึ้น เช่น ระดูมาไม่สม่ำเสมอ ร้อนวูบวาบ ช่องคลอดแห้ง การนอนหลับที่ผิดปกติ/นอนไม่หลับ และอารมณ์แปรปรวน อาการต่างๆที่เกิดขึ้นในช่วงเวลานี้เกิดจากการที่ระดับฮอร์โมนเพศมีความแปรปรวนค่อนข้างมาก วัยใกล้หมดระดูอาจยาวนานได้ถึง 6 ปีก่อนการมีระดูครั้งสุดท้ายของชีวิต หรือก่อนเข้าสู่วัยหมดระดู ในกรณีที่ผู้หญิงมีอายุราว 40 หรือ 50 ปีแต่ไม่มีอาการหรือความผิดปกติต่างๆ เกิดขึ้น และยังคงมีระดูตามปกติ เราจะไม่เรียกผู้หญิงกลุ่มที่ไม่มีอาการดังกล่าวเหล่านี้ว่า อยู่ในวัยใกล้หมดระดู
วัยหมดระดู (Menopause)
หมายถึง ช่วงเวลาของการสิ้นสุดการมีระดูอย่างถาวรเนื่องจากรังไข่หยุดทำงาน ถือว่าการมีระดูครั้งสุดท้ายเป็นเวลาที่เข้าสู่วัยหมดระดู
วัยหลังระดู หรือ วัยทอง (Postmenopause)
เป็นระยะเวลาภายหลังหมดระดูโดยนับจากปีที่เข้าสู่วัยหมดระดู วัยทองถือว่าเป็นช่วงเวลาที่สิ้นสุดการมีประจำเดือน อันเนื่องมาจากการที่รังไข่หยุดทำงาน อายุโดยเฉลี่ยของผู้หญิงไทยที่หมดประจำเดือนประมาณ 49-52 ปี
รูปที่ 1 ระยะต่างๆของวัยทอง
ข้อบ่งชี้ในผู้หญิงเริ่มเข้าสู่วัยทอง
-
อ่อนเพลียเรื้อรัง
-
เครียด หงุดหงิด เหนื่อยง่าย
-
อารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย ซึมเศร้า
-
ผิวแห้ง ไม่ยืดหยุ่น
-
ประจำเดือนมาไม่ปกติ
-
อาการร้อนวูบวาบ
-
อาการหนาวสั่น
-
เหงื่ออกตอนกลางคืน
-
มีปัญหาด้านการนอนหลับ
-
ความจำไม่ดี หลงลืมง่าย
-
น้ำหนักขึ้น
-
ผมบาง
ความเสี่ยงของการใช้ฮอร์โมนทดแทน
การใช้ฮอร์โมนทดแทน (Hormone Replacement Therapy; HRT) ในผู้หญิงวัยทองเพื่อหวังผลป้องกันอาการไม่พึงประสงค์ในระยะยาว ได้แก่ ภาวะกระดูกพรุน ฮอร์โมนทดแทน หมายถึง ยากลุ่มฮอร์โมนเอสโตรเจน หรือฮอร์โมนเอสโตรเจนร่วมกับฮอร์โมนโพรเจสเตอโรน (Progesterone) ซึ่งเป็นฮอร์โมนสังเคราะห์ การใช้ฮอร์โมนเอสโตรเจนร่วมกับโพรเจสเตอโรน อาจช่วยลดอาการวัยทองได้ แต่ไปเพิ่มปัจจัยเสี่ยงของการเป็นมะเร็งเต้านม, โรคหัวใจ และหลอดเลือดมากขึ้น ส่วนยาเม็ดฮอร์โมนเอสโตรเจนอย่างเดียวเพิ่มปัจจัยเสี่ยงของการเป็นโรคหลอดเลือดในสมอง มากขึ้นเพียงอย่างเดียว
ข้อห้ามใช้ฮอร์โมน ได้แก่ ผู้ที่มีภาวะอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้
ไม่แน่ใจว่าตั้งครรภ์หรือไม่ โรคมะเร็งเต้านม โรคมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก โรคตับอักเสบเฉียบพลัน และภาวะหลอดเลือดดำอุดตัน
การรักษาอาการวัยทองด้วยสารสกัดจากพลาเซ็นต้า
การใช้สารสกัดจากรก (Human Placenta Extract) ในหลายๆ ประเทศทางแถบเอเชียมีการใช้มาแต่โบราณ ในการรักษาบาดแผล โรคต่างๆ และรวมทั้งฟื้นฟูร่างกายจากการเจ็บป่วย (Yeom et al., 2003) ในประเทศญี่ปุ่นองค์การอาหารและยาอนุญาตให้ใช้ Human Placenta Extract เพื่อช่วยการทำงานของตับในคนไข้โรคตับเรื้อรัง (Chronic Liver Diseases) และอาการวัยทอง (Menopause) ในประเทศเกาหลีอนุญาตให้ใช้ในการรักษาอาการอ่อนเพลีย (Chronic Fatigue Syndrome) และอาการวัยทอง (Menopause Symptoms)
พลาเซ็นต้า หรือรก เป็นตัวกลางระหว่างแม่และทารกในครรภ์ทำหน้าที่แลกเปลี่ยนออกซิเจนและสารอาหารไปสู่ทารก สารประกอบจากพลาเซนต้าไม่เพียงประกอบไปด้วย สารอาหารต่างๆ เช่น คาร์โบไฮเดรต โปรตีน และไขมัน แต่ยังประกอบไปด้วย แร่ธาตุและวิตามินต่างๆ เอนไซม์ และ นิวคลีอิกเอซิด ยิ่งไปกว่านั้น พลาเซนต้ายังประกอบไปด้วย Growth Factors และ Hormones ต่างๆ ที่จำเป็นสำหรับการเจริญเติบโตและพัฒนาการของทารก ดังนั้น Growth Factors, Hormones และสารประกอบต่างๆ จากรก จึงมีผลต่อการกระตุ้นการเจริญและแบ่งตัวของเซลล์ในผู้ใหญ่เช่นกัน
สารสกัดธรรมชาติจากรกที่ไม่มีการกำจัดฮอร์โมนเพศออกเช่นเดียวกัน แต่มีปริมาณของฮอร์โมนเพศหญิง Estradiol และ Progesterone รวมทั้ง Growth Hormone ไม่สูงมากเกินไป และเป็น Endogenous Hormones นอกจากนี้ยังประกอบไปด้วย Growth Factors และฮอร์โมนที่เหมาะสำหรับผู้หญิงวัยทองที่มีปัญหาด้านผิวพรรณ เส้นผม ที่ต้องการรักษาสุขภาพและผิวพรรณที่เปลี่ยนแปลงไปตามวัยให้ดีขึ้น
นอกจากนี้สารสกัดจากรกมีผลต่อการกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน กระตุ้นการแบ่งตัวและการเจริญเติบโตของเซลล์ต่างๆ รวมทั้งเสริมสร้างคอลลาเจน อีลาสติน กระตุ้นการแบ่งตัวของเซลล์เนื้อเยื่อทำให้เซลล์ในระดับชั้นผิวหนังต่างๆ มีความหนาแน่นมากขึ้นทำให้ใบหน้าอวบอิ่มขึ้น ลดริ้วรอย และช่วยส่งเสริมการหายของบาดแผล และต่อต้านการอักเสบ
ผลการใช้สารสกัดจากพลาเซ็นต้าในด้านสุขภาพและความงาม
ผิวพรรณละเอียด รูขุมขนกระชับ ขาวใสมากขึ้น ลดการสร้างเม็ดสีบนผิวหน้าและผิวกาย ลดกระ ช่วยให้ผิวพรรณมีเลือดฝาด จากการกระตุ้นการสร้างหลอดเลือดและเส้นประสาท ส่งเสริมการหายของแผลต่างๆ รวมทั้งโรคผิวหนังเรื้อรัง
ประโยชน์ในด้านการรักษา
-
ช่วยให้การทำงานของตับดีขึ้น
-
ป้องกันการเกิดภูมิแพ้
-
ช่วยส่งเสริมระบบไหลเวียนโลหิต
-
ส่งเสริมและกระตุ้นภูมิคุ้มกัน
-
ส่งเสริมการทำงานของระบบประสาท
-
ช่วยซ่อมแซมเนื้อเยื่อในร่างกาย
-
ช่วยควบคุมความดันโลหิต
-
ลดความอ่อนล้าของกล้ามเนื้อ
-
ช่วยลดอาการวัยทองของผู้หญิง
-
มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ
References
-
Harman SM, Vittinghoff E, Brinton EA, Budoff MJ, Cedars MI, Lobo RA, Merriam GR, Miller VM, Naftolin F, Pal L, Santoro N, Taylor HS, Black DM. Timing and duration of menopausal hormone treatment may affect cardiovascular outcomes. Am J Med. 2011 Mar;124(3):199-205. Review.
-
Taylor HS, Manson JE. Update in hormone therapy use in menopause. J Clin Endocrinol Metab. 2011 Feb;96(2):255-64. Review.
-
Shuster LT, Rhodes DJ, Gostout BS, Grossardt BR, Rocca WA. Premature menopause or early menopause: long-term health consequences. Maturitas. 2010 Feb;65(2):161-6. Epub 2009 Sep 5. Review.
-
Kong M and Park SB (2012) Effect of Human Placental Extract on Health Status in Elderly Koreans. Evid Based Complement Alternat Med. 2012; 2012: 732915. doi: 10.1155/2012/732915
-
Lee KK, Whan-Seok Choi WS, Yum KS, Song SW, Ock SM, Park SB, and Kim MJ. (2012) Efficacy and Safety of Human Placental Extract Solution on Fatigue: A Double-Blind, Randomized, Placebo-Controlled Study. Evid Based Complement Alternat Med. 2012; 2012: 130875. doi: 10.1155/2012/130875
-
Choi JY, LeemK, Lee SM, Yoo SH, Hwang SG, Choi,JY., . . . Park, Y. M. (2014). Efficacy and Safety of Human Placental Extract for Alcoholic and Nonalcoholic Steatohepatitis: An Open-Label, Randomized, Comparative Study. Biological and Pharmaceutical Bulletin, 37(12), 1853-1859. doi:10.1248/bpb.b13-00979
-
Park SB, Kim KN, Sung E, Lee SY, & Shin HC. (2016). Human Placental Extract as a Subcutaneous Injection Is Effective in Chronic Fatigue Syndrome: A Multi-Center, Double-Blind, Randomized, Placebo-Controlled Study. Biol Pharm Bull, 39(5), 674-679. doi:10.1248/bpb.b15-00623
-
Kim S, Park HT, Lee BI, Shin JH, Park HM, Kim T. (2013) Comparison of the Efficacy and Safety of the Unicenta and Melsmon Injection for the Menopausal Symptoms. J Korean Soc Menopause. 19(1):36-44. Korean. doi.org/10.6118/jksm.2013.19.1.36