top of page
บริการจากเรา

ANTI-AGING & AESTHETICS

Erectile Dysfunction and Stem Cell Therapy

 

การเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ ( Erectile Dysfunction: ED) คือ การที่อวัยวะเพศชายไม่แข็งตัว จนสิ้นสุดกิจกรรมร่วมเพศ พบได้ในผู้ชายทุกวัยใด แต่มักจะพบในผู้ที่มีวัยสูงขึ้น ปัจจัยที่เป็นสาเหตุของโรค คือ มีโรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคหัวใจและความดัน ติดสุราเรื้อรัง สูบบุหรี่จัด ปัญหาทางด้านอารมณ์และจิตใจต่างๆ ที่ทำให้เกิดความเครียด ซึมเศร้า รวมไปถึงการรับประทานยาบางชนิด เช่น ยาแก้โรคซึมเศร้า ยานอนหลับ เป็นต้น

กลไกการแข็งของอวัยวะเพศขึ้นกับ สรีระกายวิภาค ระบบหลอดเลือด (Blood Supply) และระบบประสาทที่ควบคุม (Nerve Supply) ในระยะแรกของการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศมีสาเหตุมาจากการทำงานของ Endothelial Cells ผิดปกติ (Endothelial Cell Dysfunction) ทำให้เกิดความผิดปกติของการทำงานของหลอดเลือด (Vascular Dysfunction) ร่วมกับการทำงานของระบบประสาทที่ควบคุมบกพร่องซึ่งอาจมาจากภาวะความผิดปกติของระบบประสาทด้วย (Neurological Disorders) เช่น ความผิดปกติจากการควบคุมทางระบบประสาทส่วนกลาง (Central Control) และเฉพาะที่ (Local Control) ซึ่งจะอยู่ภายใต้อิทธิพลของ Testosterone การรักษาคือการทำให้ Endothelial Cells ทำงานได้ดีขึ้นโดยยา Cialil, Sindenafil, Viagra หรือ PDE-5 Inhibitor ซึ่งให้ผลการรักษาดีมากแต่ก่ออาการไม่พึงประสงค์ในผู้ที่มีปัญหาระบบหัวใจและหลอดเลือด ปัจจุบันพบว่าในผู้ป่วยบางกลุ่มไม่ตอบสนองต่อยาเหล่านี้ นอกจากนี้ยังมีการรักษาด้วย PGE1 Intracavernosal Injection Therapy เพื่อกระตุ้นการทำงานของ Endothelial Function และ Hormone Replacement Therapy ในกรณีที่มีระดับ Testosterone ต่ำกว่าปกติ ซึ่งจะต้องมีการวัดระดับฮอร์โมนในเลือด รวมทั้ง Lipid Profile และ PSA (Prostate-Specific Antigen Test)

การรักษาอาการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศด้วยสเต็มเซลล์

Stem Cell Therapy จึงเป็นนวัตกรรมใหม่ที่จะทำให้การรักษาอาการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศนั้นมีประสิทธิภาพมากขึ้น ด้วยสเต็มเซลล์ไปกระตุ้นการทำงานของ Endothelial Cells กลับมาเป็นปกติได้ ปัจจุบันมีงานวิจัยทางคลินิกจำนวนมากที่ใช้สเต็มเซลล์ในการรักษาอาการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศพบว่ามีความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพดี ในปัจจุบันมีข้อมูลว่าทั้ง Embryonic Stem Cells (ESCs) และ Adult Stem Cells (ASCs) เช่น Mesenchymal Stem Cells จากเนื้อเยื่อไขมัน ไขกระดูก และสายสะดือ เป็นเซลล์ที่จะมีการพัฒนาไปเป็นเนื้อเยื่อชนิดต่างๆ ได้ โดยไม่มีต่อต้านเนื้อเยื่อ เมื่อปลูกถ่ายเข้าไปในเนื้อเยื่อที่มีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม สเต็มเซลล์เหล่านี้มีสามารถพัฒนาเปลี่ยนไปเป็นเซลล์หรือเนื้อเยื่อที่เราต้องการได้ สามารถนำมารักษาอาการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศได้ ด้วยคุณสมบัติของเซลล์ที่สามารถหลั่ง Cytokines และ Growth Factors ชนิดต่างๆ โดยเฉพาะ Vascular Endothelial Growth Factor สามารถกระตุ้นการทำงานของ Endothelial Cells และกระตุ้นให้มีการสร้างหลอดเลือดใหม่ (Vasculogenesis) ทำให้เลือดมาเลี้ยงอวัยวะเพศชายได้มากขึ้น ส่งผลทำให้การทำงานของหลอดเลือดและระบบประสาทบริเวณอวัยวะเพศดีขึ้น การทำงานของอวัยวะเพศกลับมาเป็นปกติดังเดิม

04-01.jpg

รูปที่ 1 ED เป็นอาการที่พบได้ในผู้ชายที่สูงวัยขึ้น ที่ไม่ตอบสนองต่อยา 5 Phosphodieserase Inhibitors (PDE5Is) การรักษาด้วยสเต็มเซลล์เป็นทางเลือกใหม่ที่มีรายงานผลการศึกษาที่แสดงถึงประสิทธิภาพในการรักษาอาการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ (Alwaal, A et al., 2015)

 

 

 

ข้อดีของการรักษาด้วยสเต็มเซลล์

  • ไม่ต้องผ่าตัด สะดวก รวดเร็ว ใช้เวลาในการรักษาน้อย

  • ใช้เวลาพักฟื้นน้อยกว่าการผ่าตัด

  • ไม่ต้องรับประทานยาเป็นจำนวนมากมาก และเป็นระยะเวลานานติดต่อกัน ซึ่งมีผลข้างเคียงต่อหัวใจและหลอดเลือด

  • ผลการรักษามีประสิทธิภาพและให้ผลระยะยาว

  • โอกาสกลับมาเป็นภาวะเดิมน้อยมาก หากทำตามคำแนะนำของแพทย์อย่างถูกต้อง

ผลการรักษาด้วยสเต็มเซลล์ :

ผลการรักษาที่เริ่มชัดเจน ประมาณ 1 เดือน และค่อยๆ ดีขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป หลังฉีดจะมีอาการบวมแดงช้ำเล็กน้อย เป็นปกติที่อาจเกิดขึ้นได้

References

  1. Bahk JY, Jung JH, Han H, Min SK, Lee YS. (2010)Treatment of Diabetic Impotence with Umbilical Cord Blood Stem Cell Intracavernosal Transplant: Preliminary Report of 7 Cases. Experimental and Clinical Transplantation 2: 150-160

  2. Abdel Aziz MT, EI-Haggar S, Mostafa T, Atta H, Fouad H, Mahfouz S, et al. (2010) Effect of Mesenchymal stem cell penile transportation on erectile signaling of aged rats. Andrologia 42: 187-92

  3. Zhang H, Alberson M, Jin G. (2012) Stem cell: novel players in the treatment of erectile dysfunction. Asian J Androl 14, 145-55.

  4. Lin CS. (2014) Advances in stem cell therapy for erectile dysfunction. Advances in Andrology Article ID 140618, 20 pages.

bottom of page