โรคข้อเข่าเสื่อม เกิดจากความเสื่อมของกระดูกอ่อนผิวข้อ ทั้งทางด้านรูปร่าง โครงสร้างการทำงานของกระดูกข้อต่อ และกระดูกบริเวณใกล้ข้อ การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นไม่สามารถกลับสู่สภาพเดิมและอาจมีความเสื่อมรุนแรงขึ้นตามลำดับ โรคข้อเข่าเสื่อมเป็นปัญหาที่สำคัญที่พบมากในวัยกลางคนและผู้สูงอายุ และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ผู้ที่มีข้อเข่าเสื่อมมาก ถ้าไม่ได้รับการรักษาหรือปฏิบัติตัวอย่างเหมาะสม อาจทำให้เจ็บปวด ข้อเข่าผิดรูป เดินได้ไม่ปกติปฏิบัติกิจวัตรประจำวันไม่สะดวก
โรคข้อเข่าเสื่อมชนิดที่พบบ่อยที่สุด คือ Osteoarthritis เป็นโรคที่เกี่ยวเนื่องกับการเสื่อมของข้อเข่าบริเวณกระดูกอ่อนของผิวข้อเข่าด้านบน ผิวข้อเข่าด้านล่าง และบริเวณใต้ลูกสะบ้า โรคข้อเสื่อมแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ตามลักษณะการเกิดคือ
1. ความเสื่อมแบบปฐมภูมิ เป็นความเสื่อมที่ไม่ทราบสาเหตุ เป็นภาวะที่เกิดจากการเสื่อมสภาพของผิวกระดูกอ่อนตามวัยซึ่งสัมพันธ์กับอายุที่มากขึ้น น้ำหนักตัว เพศหญิง และกรรมพันธุ์
2. ความเสื่อมแบบทุติยภูมิ เป็นความเสื่อมที่ทราบสาเหตุ เช่น เคยประสบอุบัติเหตุ มีการบาดเจ็บที่ข้อและเส้นเอ็น การบาดเจ็บเรื้อรังที่ บริเวณข้อเข่า จากการทำงานหรือเล่นกีฬา โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ เก๊าต์ ข้ออักเสบติดเชื้อ โรคของต่อมไร้ท่อ เป็นต้น อาการแสดงในระยะแรก เริ่มปวดเข่าเวลามีการเคลื่อนไหว เช่น เดินขึ้นลงบันได หรือนั่งพับเข่าอาการจะดีขึ้นเมื่อหยุดพักการใช้ข้อร่วมกับ มีอาการข้อฝืดขัดโดยเฉพาะเมื่อมีการหยุดเคลื่อนไหวเป็นเวลานาน เมื่อเริ่มขยับข้อจะรู้สึกถึงการเสียดสีของกระดูกหรือมีเสียงดังในข้อ เมื่อมีภาวะข้อเสื่อมรุนแรงอาการปวดจะรุนแรงมากขึ้น เหยียดหรืองอข้อเข่าได้ไม่ค่อยสุด กล้ามเนื้อต้นขาลีบ ข้อเข่าโก่ง หลวม หรือบิดเบี้ยวผิดรูปทำให้เดินและใช้ชีวิตประจำวันลำบากและมีอาการปวดเวลาเดินหรือขยับ การวินิจฉัยสามารถทำได้จากการซักประวัติและตรวจร่างกายโดยแพทย์ร่วมกับภาพถ่ายรังสีซึ่งสามารถ บอกความรุนแรงของโรคได้
การรักษาภาวะข้อเข่าเสื่อม คือ การใช้ยาลดอาการปวดและอักเสบภายในข้อ ได้แก่ ยาแก้ปวด พาราเซตามอล ยาต้านการอักเสบ (NSAID) ยาสเตียรอยด์ (Steroid) สำหรับฉีดเข้าข้อ สามารถลดอาการปวดในช่วงสั้นๆ 2-3 สัปดาห์ และมีผลข้างเคียง การฉีดเป็นประจำมีผลทำลายกระดูกอ่อนข้อต่อได้การรักษาโดยการใช้ยาไม่เป็นผล ก็จะใช้ยาแก้อักเสบกลุ่มที่ฉีดเข้าข้อ เช่น ยาสเตอรอยด์ (Steroid) ปัจจุบันการนิยมใช้ยานี้ลดลงเพราะมีผลข้างเคียงมาก โดยการรักษาโดยการผ่าตัดมีวิธีการผ่าตัดชนิดต่างๆ เช่น การส่องกล้องภายในเข่า เพื่อตรวจสภาพและล้างภายในข้อ
การใช้เซลล์ต้นกำเนิดรักษาในผู้ป่วยโรคข้อเสื่อม
การรักษาโรคไขข้อและกระดูก เซลล์ต้นกำเนิดถูกนำมาศึกษาวิจัยเพื่อใช้รักษาโรคข้อและกระดูก เช่น ข้ออักเสบรูมาตอยด์ (Rheumatoid Arthritis) ข้อเข่าเสื่อม (Osteoarthritis) ความผิดปกติของกระดูกอันเนื่องมาจากพันธุกรรม (Osteogenesis imperfect) มะเร็งกระดูก (Bone Metastasis) การหักของกระดูก (Bone Fracture)
เซลล์ต้นกำเนิดจากเนื้อเยื่อสายสะดือ หรือ เซลล์ต้นกำเนิดมีเซนไคม์ (Mesenchymal Stem Cells: MSCs) ซึ่งมีศักยภาพในการเพิ่มจำนวนและเปลี่ยนแปลงไปเป็นเซลล์ประเภทต่างๆ ได้ MSCs สามารถนำมาใช้ประโยชน์ทั้งในการรักษาโรคทางเวชศาสตร์ฟื้นฟู (Regenerative Medicine) การชะลอวัย (Anti-Aging) และความสวยงาม (Aesthetic) ปัจจุบัน MSCs ได้รับการยอมรับและขึ้นทะเบียนจากองค์การอาหารและยาของประเทศสหรัฐอเมริกา (US FDA) ให้สามารถใช้ MSCs ในการรักษาภาวะการต่อต้านการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิด (GVHD) และโรคลำไส้อักเสบซึ่งช่วยให้ผู้ป่วยในหลายๆ ที่ได้มีโอกาสรอดชีวิตจากภาวะโรคดังกล่าวมากขึ้น
ปัจจุบันการรักษาผู้ป่วยที่ป่วยด้วยโรคข้อเสื่อมโดยใช้เซลล์ต้นกำเนิดนั้น ได้มีการทำเป็นที่แพร่หลายมากขึ้น มีกรณีศึกษาในผู้ป่วยที่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อม โดยผู้ป่วยมีอาการปวด บวมบริเวณข้อเข่า เมื่อทำการตรวจด้วยเครื่อง MRI พบว่าเนื้อกระดูกอ่อนและเนื้อเยื่อระหว่างข้อต่อของข้อเข่าผู้ป่วยสึกหรอเสียหายไป แพทย์จึงวางแผนการรักษา โดยการใช้เซลล์ต้นกำเนิดของผู้ป่วยเอง ปลูกถ่ายเข้าไปให้กับผู้ป่วยใหม่ โดยแพทย์ได้ทำการเก็บเลือดจากไขกระดูกของผู้ป่วยเองมาทำการปั่นแยกเพื่อเอา Plasma และ Packed Red Blood Cells ทิ้งไป จากนั้นนำส่วนที่เรียกว่า Total Nucleated Cells หรือชั้นของเม็ดเลือดขาวทั้งหมดซึ่งมีเซลล์ต้นกำเนิดปะปนอยู่ มาเลี้ยงในอาหารเลี้ยงเซลล์ที่เรียกว่า DMEM ใน 10% PL (Lower Viscosity Platelet Lysate Containing Growth Factors) หลังจากที่เลี้ยงเซลล์ต้นกำเนิดในห้องปฏิบัติการได้ถึง Passage ที่ 5 แล้วแพทย์จึงนำเซลล์ต้นกำเนิดทั้งหมดที่เลี้ยงได้มาทำการฉีดกลับให้กับผู้ป่วย โดยฉีดเข้าไปบริเวณรอยโรคโดยตรง หลังจากหกเดือนที่ผู้ป่วยได้รับการปลูกถ่ายด้วย Mesenchymal Stem Cell เมื่อแพทย์ทำการตรวจข้อเข่าของผู้ป่วยด้วยเครื่อง MRI พบว่าข้อเข่าของผู้ป่วยมีปริมาณเนื้อเยื่อบริเวณหมอนรองกระดูกและมีเนื้อกระดูกอ่อนเพิ่มมากขึ้น
ซึ่งหลังจากหกเดือนผ่านไป พบว่าผู้ป่วยสามารถเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อบริเวณข้อเข่าได้ดีขึ้น อาการปวดลดลงมาก ทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สามารถดำเนินกิจกรรมในชีวิตประจำวันได้ตามปกติ อย่างไรก็ตามกรณีศึกษานี้ เป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งที่แพทย์และนักวิจัยพยายามศึกษาวิจัยการใช้ Mesenchymal Stem Cell รักษาโรคข้อเสื่อม นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยเกี่ยวข้องกับโรคดังกล่าวเป็นจำนวนมาก ซึ่งสามารถค้นหาข้อมูลได้จากวารสารงานวิจัยเซลล์ต้นกำเนิดได้ทั่วไป
References
Haleem, A. M., Singergy, A. A., Sabry, D., Atta, H. M., Rashed, L. A., Chu, C. R., . . . Abdel Aziz, M. T. (2010). The Clinical Use of Human Culture-Expanded Autologous Bone Marrow Mesenchymal Stem Cells Transplanted on Platelet-Rich Fibrin Glue in the Treatment of Articular Cartilage Defects: A Pilot Study and Preliminary Results. Cartilage, 1(4), 253-261. doi:10.1177/1947603510366027
Jo, C. H., Lee, Y. G., Shin, W. H., Kim, H., Chai, J. W., Jeong, E. C., . . . Yoon, K. S. (2014). Intra-articular injection of mesenchymal stem cells for the treatment of osteoarthritis of the knee: a proof-of-concept clinical trial. Stem Cells, 32(5), 1254-1266. doi:10.1002/stem.1634
Kong, L., Zheng, L.-Z., Qin, L., & Ho, K. K. W. (2017). Role of mesenchymal stem cells in osteoarthritis treatment. Journal of Orthopaedic Translation, 9, 89-103. doi:https://doi.org/10.1016/j.jot.2017.03.006
Vega, A., Martin-Ferrero, M. A., Del Canto, F., Alberca, M., Garcia, V., Munar, A., . . . Garcia-Sancho, J. (2015). Treatment of Knee Osteoarthritis With Allogeneic Bone Marrow Mesenchymal Stem Cells: A Randomized Controlled Trial. Transplantation, 99(8), 1681-1690. doi:10.1097/tp.0000000000000678
Dall'Oca, C., Breda, S., Elena, N., Valentini, R., Samaila, E. M., & Magnan, B. (2019). Mesenchymal Stem Cells injection in hip osteoarthritis: preliminary results. Acta Biomed, 90(1-s), 75-80. doi:10.23750/abm.v90i1-S.8084
Freitag, J., Bates, D., Wickham, J., Shah, K., Huguenin, L., Tenen, A., . . . Boyd, R. (2019). Adipose-derived mesenchymal stem cell therapy in the treatment of knee osteoarthritis: a randomized controlled trial. Regen Med. doi:10.2217/rme-2018-0161
Kim, S. H., Ha, C. W., Park, Y. B., Nam, E., Lee, J. E., & Lee, H. J. (2019). Intra-articular injection of mesenchymal stem cells for clinical outcomes and cartilage repair in osteoarthritis of the knee: a meta-analysis of randomized controlled trials. Arch Orthop Trauma Surg. doi:10.1007/s00402-019-03140-8
Comments