ภาวะเปราะบาง (Frailty) เป็นกลุ่มอาการที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ โดยเฉพาะในผู้ที่มีสภาวะเปลี่ยนผ่านจากสภาพแข็งแรงสู่ภาวะอ่อนแอ (Vulnerability) ในหลายระบบทั้งทางกาย จิตใจ อันเป็นสาเหตุหลักของผลลัพธ์ไม่พึงประสงค์ (Adverse outcomes) ทั้งการหกล้ม ภาวะโรคต่างๆ คุณภาพชีวิตลดลง และภาวะทุพพลภาพ และเป็นสาเหตุการเสียชีวิตในผู้สูงอายุมากที่สุด ภาวะเปราะบางมีลักษณะเฉพาะของอาการและอาการแสดงคล้ายกับความเสื่อมถอยทางกายที่พบเห็นได้ในผู้สูงอายุทุกคนเมื่ออายุมากขึ้นเกิดขึ้นจากความเสื่อมถอยตาม อายุ (Age-Related Decline) ในกระบวนการชรา (Aging Process)
ทางด้านชีววิทยาได้อธิบาย ความชรา (Aging) เป็นภาวะที่มีการเสื่อมถอยของการซ่อมแซมในระดับเซลล์ เนื้อเยื่อ และอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย ทำให้การทำงานของร่างกาย และระบบภูมิคุ้มกันลดลง (Physical and Immunological Function) เนื่องมีการผลิตสเต็มเซลล์ในร่างกาย (Endogenous Stem Cells) ลดลง จากการยับยั้งการทำงานของ Stem Cell ทำให้สูญเสียหน้าที่ในการซ่อมแซมและฟื้นฟูเซลล์ เนื้อเยื่อและอวัยวะต่างๆ ทำให้สูญเสียความสามารถในการปรับตัวเข้าสู่ภาวะสมดุล (Hemodynamics) ซึ่งเป็นระบบชีวภาพที่ตอบสนองต่อภาวะเครียดต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกร่างกาย
อาการที่บ่งบอกถึงภาวะเปราะบาง (Frailty Syndrome)
หากมีอาการตั้งแต่ 3 ข้อขึ้นไปจาก 5 ข้อดังต่อไปนี้ถือว่าเป็นผู้ที่มีภาวะเปราะบาง
Weight Loss: น้ำหนักลดโดยไม่ได้ตั้งใจหรือไม่ทราบสาเหตุ มากกว่า 5% ของน้ำหนักตัวในระยะเวลา 1 ปี
Exhaustion : รู้สึกเหนื่อย หมดแรง ขาดพลัง หรือจิตตก นิยามว่าจากเดิมพลังงานเต็มสิบ ลดลงเหลือน้อยกว่าสาม
Muscle Weakness : กล้ามเนื้ออ่อนแรง มีกิจกรรมน้อยลง นิยามว่าหญิงออกแรงได้น้อยกว่า 270 แคลอรี่ ชายออกแรงได้น้อยกว่า 383 แคลอรี่ ต่อสัปดาห์
Slow Walking Speed : เดินช้าลง นิยามว่าเดินแค่ 15 ฟุต (4.57 เมตร) ใช้เวลาเกิน 6-7 วินาที (ขึ้นกับเพศและความสูง)
Low Physical Activity : ออกแรงในชีวิตประจำวันลดลง ไม่แข็งแรง นิยามว่าแรงบีบมือลดเหลือต่ำกว่า 20%
Age-Related Frailty and Stem Cell Therapy
ปัจจุบันยังไม่มีวิธีการรักษาภาวะเปราะบางจากวัยที่ได้รับการยอมรับ การรักษาที่มีการพูดถึงมากที่สุดในกลุ่มอาการเปราะบาง คือ Stem Cell Therapy ซึ่งมีการศึกษาวิจัยทางคลินิกพบว่า Allogeniec Mesenchymal Stem Cells Therapy (Allo-hMSCs) ช่วยให้กลไกการซ่อมแซมในระดับเซลล์มีศักยภาพในการฟื้นฟูร่างกายจากภาวะเปราะบางได้เป็นอย่างดี ลดการอักเสบเรื้อรัง กระตุ้นการทำงานของร่างกายและและระบบภูมิคุ้มกัน ส่งผลให้สุขภาพโดยรวมดีขึ้น จากหลักฐานงานวิจัยทางคลินิกด้านประสิทธิภาพและความปลอดภัยของการรักษา Aging Frailty ในผู้สูงอายุ พบว่า
Allo-hMSCs ไปลดการอักเสบเรื้อรัง โดยไปลดการแสดงออกการทำงานของตัวบ่งชี้ของการอักเสบทางชีวภาพ (Inflammatory Biomarkers) คือ TGF-α TGF-β, IL-1, IL-6 และ C-Reactive Protein (CRP) (ตารางที่ 1)
Allo-hMSCs ไปเพิ่มคุณภาพชีวิต และ Sexual Life ดีขึ้น (ตารางที่ 1)
Allo-hMSCs ทำให้ Physical Performance ดีขึ้น
References
Schulman IH, Balkan W, Hare JM. (2018) Mesenchymal Stem Cell Therapy for Aging Frailty.Front Nutr. 5:108. doi: 10.3389/fnut.2018.00108.
Tompkins, BA., DiFede, DL., Khan, A., Landin, AM et al., (2017) Allogeneic Mesenchymal Stem Cells Ameliorate Aging Frailty: A Phase II Randomized, Double-Blind, Placebo-Controlled Clinical Trial. J Gerontol A Biol Sci Med Sci. 72(11):1513-1522. doi: 10.1093/gerona/glx137.
Golpanian S, DiFede DL, Pujol MV, Lowery MH, Levis-Dusseau S, Goldstein BJ, Schulman IH, Longsomboon B, Wolf A, Khan A, Heldman AW, Goldschmidt-Clermont PJ, Hare JM. (2016) Rationale and design of the allogeneiC human mesenchymal stem cells (hMSC) in patients with aging fRAilTy via intravenoUS delivery (CRATUS) study: A phase I/II, randomized, blinded and placebo controlled trial to evaluate the safety and potential efficacy of allogeneic human mesenchymal stem cell infusion in patients with aging frailty. Oncotarget, 7(11):11899-912. doi: 10.18632/oncotarget.7727.
留言