กระดูกอ่อน "ข้อเข่าเสื่อม"😢😢😢 . 🔸หากกล่าวถึงอาการปวดเข่า ส่วนใหญ่เรามักจะนึกถึงข้อเข่าเสื่อมในคนสูงอายุ แต่สำหรับอาการปวดเข่าในคนอายุน้อย ถ้าไม่นับอาการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุหรือการเล่นกีฬาแล้ว สาเหตุที่พบได้บ่อยคือ ”กระดูกอ่อนข้อเข่าอักเสบ” ที่สามารถเกิดขึ้นได้จากการทำกิจกรรมทั่วไปในแต่ละวัน ทั้งการนั่ง ยืน เดิน วิ่ง ขึ้นลงบันได ซึ่งล้วนต้องใช้ข้อเข่าเป็นส่วนสำคัญ . “ข้อเข่า”🥺เป็นข้อที่ใหญ่ที่สุดในร่างกาย ประกอบด้วยกระดูก 3 ส่วน คือ กระดูกหน้าแข้ง (Tibia) กระดูกต้นขา (Femur) และกระดูกสะบ้า (Patella) รวมเป็นข้อเข่า ผิวสัมผัสของกระดูก 3 ชิ้นนี้จะมีกระดูกอ่อนหุ้มไว้เรียกว่า “กระดูกอ่อนผิวข้อ (Articular cartilage)” มีลักษณะเรียบ ลื่น และสีขาวใส ทำหน้าที่ลดการเสียดสีขณะเคลื่อนไหว รองรับแรงกระแทกภายในข้อเข่า . 📌แต่ถ้าบริเวณกระดูกอ่อนนี้เกิดการอักเสบ ก็จะทำให้รู้สึกเจ็บได้ โดยเฉพาะกระดูกอ่อนตำแหน่งสะบ้าเข่าซึ่งอยู่บริเวณด้านหน้าที่มักจะพบการอักเสบได้บ่อย ทุกครั้งที่เรางอเหยียดเข่า กระดูกสะบ้าก็จะเคลื่อนที่ขึ้นลง เข้ารูปกับกระดูกต้นขาได้พอดี . 🔸แต่เนื่องจากเป็นตำแหน่งที่มีการเสียดสีมาก จึงทำให้เกิดการบาดเจ็บหรืออักเสบได้ง่าย เป็นที่มาของ “กระดูกอ่อนข้อเข่าอักเสบ” . สาเหตุ🧐🧐🧐 🔸1.กระดูกสะบ้าเอียงมากกว่าปกติเวลางอเข่า ทำให้กระดูกอ่อนตำแหน่งสะบ้าเข่าเคลื่อนที่เสียดสีมากกว่าปกติจนเกิดการอักเสบ . 🔸2.กล้ามเนื้อไม่แข็งแรง โดยธรรมชาติเวลาที่งอเข่ามากๆ กระดูกสะบ้าจะมีแนวโน้มเอียงออกด้านนอก ซึ่งตรงนี้เป็นหน้าที่ของกล้ามเนื้อต้นขาด้านใน ที่ช่วยพยุงไว้ หากกล้ามเนื้อไม่แข็งแรง ก็จะยิ่งทำให้มีอาการบาดเจ็บมากยิ่งขึ้น . 🔸3.เพศหญิงมีความเสี่ยงกว่าเพศชายประมาณ 2 เท่า ทั้งนี้เพราะผู้หญิงในส่วนสูงเดียวกันจะมีความกว้างของสะโพกมากกว่าผู้ชาย เวลายืนหรือเดิน ต้นขาจะเอียงมากกว่า เกิดแรงดึงสะบ้าให้เอียงไปด้านนอก ทำให้เกิดการอักเสบ นอกจากนี้ความหนาและความแข็งแรงของกระดูกอ่อนผู้หญิงมักน้อยกว่าผู้ชาย ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นปัจจัยที่ทำให้กระดูกอ่อนข้อเข่าอักเสบได้ง่ายกว่า . 🔸4.การใช้งานที่มากเกินไป ทำให้กระดูกอ่อนข้อเข่าอักเสบได้เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นการออกกำลังกายที่มากเกินไป การนั่งพับเข่าบนพื้น การขึ้นลงบันไดวันละหลายๆ รอบ เป็นต้น
🔸5.น้ำหนักมาก เพราะน้ำหนักตัวมีผลต่อแรงกระแทกของข้อเข่าโดยตรง โดยเฉพาะการขึ้นลงบันไดที่จะมีแรงกระแทกมากถึง 5 เท่าของน้ำหนักตัว หรือการนั่งพับเข่าที่จะมีแรงกระแทกได้มากถึง 8 เท่าของน้ำหนักตัว . 🔸6.คนเท้าแบน มีโอกาสที่กระดูกสะบ้าเข่าเอียงได้มากกว่าปกติขณะเดิน เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้ปวดเข่าได้เช่นกัน . 🚨อาการ🚨 📌คนไข้จะมีอาการปวดเข่าโดยเฉพาะด้านหน้าเข่า และมักจะปวดในท่าที่งอเข่า เช่น นั่งพับเพียบ นั่งคุกเข่า นั่งขัดสมาธิ ขึ้นลงบันได ลุกเปลี่ยนท่า เพราะมีแรงไปกระทบที่กระดูกอ่อนสะบ้าเข่ามากขึ้น ทำให้เกิดอาการปวด . 🛎นอกจากนี้หากมีการอักเสบมากๆ ก็จะทำให้เข่าบวมได้ เวลาลุกจากนั่ง และเวลางอเหยียดเข่ามักเสียงดังที่เกิดจากการสะดุดของกระดูกอ่อนสะบ้าเข่า หากมีอาการเหล่านี้ควรรีบไปพบแพทย์ตั้งแต่เนิ่นๆ เพื่อจะได้วางแผนการรักษาอย่างทันท่วงทีนะคะ🧑🏻⚕👩🏻💻 . 👩🏻💻ติดตามได้ที่ >> Fanpage : STC Clinic #ช่วยให้ข้อแข็งแรง #รู้อาการเบื้องต้นเพื่อรักษาได้ตรงปัญหา #ในขณะที่เราทำงาน Work From Home #อยู่ที่บ้าน อย่าปล่อยใอาการสะสมหนักมากนะคะ #stcclinichowto #STCvitCDrip #stcclinicantiaging #stcclinic . 𝐒𝐓𝐂 𝐂𝐥𝐢𝐧𝐢𝐜 "𝐘𝐨𝐮𝐫 𝐏𝐞𝐫𝐬𝐨𝐧𝐚𝐥𝐢𝐳𝐞𝐝 𝐇𝐞𝐚𝐥𝐭𝐡 𝐂𝐨𝐧𝐬𝐮𝐥𝐭𝐚𝐧𝐭" . บริหารงานภายใต้แนวคิด 4Ps #Personalized เราไม่เชื่อใน One size fits all โปรแกรมการรักษาของเราจึงออกแบบมาเพื่อคุณโดยเฉพาะ #Precision แม่นยำกับผลลัพธ์ในการรักษาที่ถูกจุดและไม่เลี้ยงไข้ #Previledge มุ่งเน้นการบริการเหนือระดับ #Priority Your Safety ใส่ใจในความปลอดภัยของคุณดั่งคนในครอบครัว . #ปรึกษาและฟื้นฟูสุขภาพ . ☎️ 0875165445 . ▶️IG : STC_Clinic ▶️LINE@ : @YourSTC ( มี@ด้านหน้า) . #stcclinic #youragingmiracle
댓글